คลื่นแผ่นดินไหว

คลื่นไหวสะเทือน
            การเกิดแผ่นดินไหว พลังที่ถูกปลดปล่อยจะอยู่ในรูปของคลื่นไหวสะเทือนซึ่งจะมีด้วยกัน 2 ประเภท
1.คลื่นในตัวกลาง (Body wave)
            ซึ่งเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่แผ่กระจายทุกทิศทางจากศูนย์การเกิดแผ่นดินไหวและเดินทางอยู่ในตัวกลาง มี 2 ลักษณะคือ
            1.1 คลื่นปฐมภูมิ (P wave)
                        เป็นคลื่นตามยาวและสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊สโดยคลื่นปฐมภูมิจะมีความเร็วมากกว่าทุติยภูมิ โดยมีความเร็วเท่ากับ 6-7 กิโลเมตรต่อวินาที
1.2 คลื่นทุติยภูมิ (S wave)
                        เป็นคลื่นตามขวางและไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางได้ที่เป็นของเหลว และแก๊สได้ โดยมีความเร็วเท่ากับ 3-4 กิโลเมตรต่อวินาที สาเหตุที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางของเหลว และแก๊สได้เนื่องจากเป็นคลื่นเฉือนที่ผ่านตัวกลางจะทำให้ตัวกลางเกิดความเค้นแบบเฉือน แต่ของเหลวและแก๊สไม่สามารถสะสมความเค้นแบบเฉือนได้
 2.คลื่นพื้นผิว (Surface wave)
            เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่บนผิวโลกด้วยอัตราเร็วที่ช้ากว่าคลื่นตัวกลาง ซึ่งเป็นที่รู้จักด้วยกัน 2 ชนิดคือ
            2.1 คลื่นเลิฟ (Love wave)
                        เป็นคลื่นที่อนุภาคตัวกลางสั่นในแนวราบบริเวณใกล้กับผิวโลก โดยมีทิศทางตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น ซึ่งคลื่นชนิดนี้เป็นคลื่นที่สร้างความเสียหายให้กับฐานรากและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
2.2 คลื่นเรย์ลี (Rayleigh wave)
                        เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางเคลื่อนที่ในแนวระนาบแนวดิ่งเป็นวงรีในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น ทำให้พื้นผิวโลกมีการสั่นขึ้นลง


เครื่องมือที่ใช้วัดความไหวสะเทือน คือ Seismograph

อ้างอิง :
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรงศึกษาธิการ.//(2553).//หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ.//พิมพ์ครั้งที่ 3.//กรุงเทพมหานคร:/โรงพิมพ์ สกสต. ลาดพร้าว
ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA)//(2562)//คลื่นไหวสะเทือน.//สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ.2562./จาก/ http://www.lesa.biz/earth/lithosphere.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวแผ่นดินไหว

ภูเขาไฟ (Volcano)

ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์