แนวแผ่นดินไหว

แนวแผ่นดินไหว



สามารถแบ่งศูนย์เกิดแผ่นดินไหวตามระดับความลึก ได้ 3 ระดับ ดังภาพ คือ
1.แผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดระดับตื้น จะเกิดที่ความลึกน้อยกว่า 70 กิโลเมตรจากผิวโลก
2.แผ่นดินไหวที่มี่ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับกลาง จะเกิดแผ่นดินไหวที่ความลึก 70 -300 กิโลเมตรจากผิวโลก

3.แผ่นดินไหวระดับลึก จะเกิดที่ความลึกมากกว่า 300 กิโลเมตรจากผิวโลก

 วงแหวนไฟ (Ring of Fire)

วงแหวนไฟ (Ring of Fire) คือ บริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟคุกรุ่นทั้งโลก
       จากข้อมูลทางสถิติ นักธรณีวิทยาพบว่าตำแหน่งศูนย์กลางเกิดแผ่นดินไหวมีความสัมพันธ์กับแนวรอยต่อของแผ่นธรณี แนวรอยต่อที่สำคัญที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวมีอยู่ 3 แนว
        1.แนวรอบต่อที่เกิดล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก จัดเป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงและมากที่สุด ติดเป็นร้อยละ 80 ของการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก เรียกกันว่า วงแหวนแห่งไฟ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับตื้น กลาง และลึก
        2.แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในทวีปยุโรปและภูเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศตุรกี ประเทศพม่า ซึ่งแผ่นดินไหวบริเวณนี้มีลักษณะเป็นศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับตื้นและกลาง
        3.แนวร่อบต่อที่เหลืออีกร้อยละ 5 เกิดบริเวณแนวสันกลางมหาสมุทรต่างๆของโลก ได้แก่ บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทนแอตแลนติก แนวสันเขาใต้มหาสมุทรอินเดียและอาร์กติด ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณนี้อยู่ในระดับตื้นและเป็นแนวแตบๆ
อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรงศึกษาธิการ.//(2553).//หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ.//พิมพ์ครั้งที่ 3.//กรุงเทพมหานคร:/โรงพิมพ์ สกสต. ลาดพร้าว

ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว

ขนาด (Magnitude) เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น " ริคเตอร์"
ปัจจุบันมาตราริกเตอร์เป็นมาตราวัดแผ่นดินไหวที่มีคนรู้จักกันมากดังนั้นมาตรริกเตอร์จึงเป็นที่นิยมรายงานความรุนแรงของแผ่นดินไหว  ซึ่งการเพิ่มขึ้น 1 หน่วยริกเตอร์มีพลังงานปลดปล่อยเพิ่ม 30 เท่า

มาตราริกเตอร์

ขนาด            ความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง
1-2.9              เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มมีความรู้สึกถึงการสั่นไหว บางครั้ง รู้สึกเวียน ศีรษะ
3-3.9              เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
4-4.9              เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือนวัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5-5.9              เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6-6.9              เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0 ขึ้นไป      เกิดการสั่นไหวร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างมีความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินแยก วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

           ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Intensity) แสดงถึงความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น วัดได้จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเกิด และหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ความรู้สึกของผู้คน ลักษณะที่วัตถุหรือ อาคารเสียหายหรือสภาพภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทยใช้ มาตราเมอร์แคลลี่ สำหรับเปรียบเทียบอันดับ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เรียงลำดับความรุนแรงแผ่นดินไหวจากน้อยไปมาก

มาตราเมอร์แคลลี่

อันดับที่               ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ
I                           เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ
II                          พอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ
III                         พอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก
IV                        ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว
V                         รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
VI                        รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว
VII                      ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย
VIII                    เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา
IX                       สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก
X                        อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ
XI                       อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบนพื้นดินอ่อน
XII                      ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน
อ้างอิง : กรมอุตุนิยมวิทยา.//(2562).//ความรู้อุตุนิยมวิทยา เรื่องขนาดและความรุนแรง//สืบค้นเมื่อ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒./จาก/ https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=34

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภูเขาไฟ (Volcano)

ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์