ภูเขาไฟระเบิดที่ปอมเปอี

ภูเขาไฟวิสุเวียสและเหตุการณ์ปอมเปอี 


ชื่อภูเขาไฟ : วิสุเวียส
สถานที่ :  เมืองปอมเปอี เฮอร์คิวเลเนี่ยม สตาเบีย ที่ประเทศอิตาลี
เวลา : ปะทุใน วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 79 เวลา 13นาฬิกา 30 นาที - 27 สิงหาคม ค.ศ. 79
ประเภทภูเขาไฟ : สลับชั้น (stratovolcano)
ภูเขาไฟเกิดขึ้นจาก : ส่วนที่ลู่เข้าหา (Convergent) ของแผ่นแอฟริกา กับแผ่นยูเรเชีย เริ่มมีการซ้อนทับ(subducted) ทำให้เกิดยอดเขา
สถานะภูเขาไฟ : เป็นภูเขาไฟที่สงบ (dormanVolcanoes) คือดับอยู่ในขณะนี้ แต่อาจเกิดการ ระเบิดขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้
หินส่วนใหญ่ที่พบบริเวณภูเขาไฟ : หินแอนดีไซต์ และ โฟโนไลต์
แร่ที่พบส่วนใหญ่บริเวณภูเขาไฟ : ซิลิกา และ โพแทสเซียม
ผลกระทบ : ทำให้มีผู้เสียชีวิต ไปกว่า 16,000 ราย พลังงานที่ถูกปล่อย มากกว่า ระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่ามากถึง 100,000 เท่า
อ้างอิง : Wikipedia.  (2562).  ปอมเปอี.  สืบค้นเมื่อ16 กุมภาพันธ์, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Mount_Vesuvius#Origin_of_the_name 

เหตุการณ์การระเบิดของภูเขาไฟเมืองปอมเปอี

ตั้งอยู่ในแคว้นกัมปาเนีย ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี ปอมเปอีเป็นเมืองชายทะเลที่ชวนหลงไหล โดยมี ‘ภูเขาไฟวิสุเวียส’ (Mount Vesuvius) ตั้งตระหง่านเป็นฉากหลัง ถือกำเนิดขึ้นโดยชาวออสกัน (Oscan) ในช่วง 700 ปีก่อนคริสตกาล(บางแหล่งบอกกำเนิดในช่วง 550 ปีก่อนคริสตกาล) และถูกผนวกรวมกับอาณาจักรโรมันในช่วง 80 ปีก่อนคริสตกาล เมืองท่าแห่งนี้คือทำเลทองที่เอื้อต่อการทำการค้าและการเกษตร ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุจากลาวาภูเขาไฟ จึงสามารถปลูกต้นองุ่นและมะกอกได้ดี ทำให้ชาวโรมันจำนวนมากต่างหลั่งไหลกันไปอยู่อาศัยทำมาหากินที่เมืองแห่งนี้ ปอมเปอีกลายเป็นศูนย์กลางการค้าอันมั่งคั่งในยุคนั้น มีอารยธรรมและสถาปัตยกรรมอันรุ่งเรือง
ตัวเมืองมีการวางผังเมืองอย่างดี มีระบบส่งน้ำที่ขึ้นชื่อตามแบบของโรมัน, น้ำพุสาธารณะจำนวนมาก, ที่อาบน้ำสาธารณะ, สนามกีฬาทรงรี (Arena) สำหรับให้ชาวเมืองชมกีฬาที่ใช้ชีวิตเป็นเดิมพันของพวก Gladiators, เวทีแสดงกลางแจ้ง (Amphitheatre), วิหารเทพจูปิเตอร์, ท่าเรือ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นต่างจากเมืองอื่นๆ ของโรมัน คือ ที่กักเก็บน้ำฝน และยัง พบหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่าที่นี่เป็นเมืองที่ผู้คนต่างลุ่มหลงในการเสพสุขแสวงหาความสำราญ จากความบันเทิงเริงรมย์หลากรูปแบบ เรียกได้ว่าที่นี่คือลาสเวกัสของยุคนั้นเลยทีเดียว 
ก่อนเกิดเหตุการณ์ระเบิด
มีการค้นพบบันทึกของชาวโรมันคนหนึ่งที่ชื่อ พลินนี่ เดอะ ยังเกอร์ (Pliny the Younger) โดยบันทึกนี้กล่าวว่า ในช่วงวันก่อนภูเขาไฟระเบิดได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินสั่นไหวอยู่หลายครั้ง แต่ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ก้าวหน้าในยุคนั้น ทำให้ไม่มีใครเฉลียวใจว่าเหตุการณ์ดังกล่าว คือสัญญาณเตือนของโศกนาฏกรรมที่นำมาซึ่งจุดจบของปอมเปอี

เหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด

        ในวันที่24 สิงหาคม ค.ศ 79 วันที่ภูเขาไฟวิสุเวียสเกิดการระเบิด ประชากรในเมืองขณะนั้นมีประมาณ 10,000-20,000 คน โดยนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า ในทุกวินาทีเถ้าถ่านและหินลาวามากกว่า 1.5 ล้านตันรวมถึงก๊าซพิษอีกจำนวนมาก ได้ปะทุออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟอย่างต่อเนื่อง โดยเศษเถ้าถ่าน (Pyroclastic) อาจลอยขึ้นสูงถึง 20 ไมล์เหนือปากปล่องภูเขาไฟ ปกคลุมท้องฟ้าจนมืดสนิท ชนิดที่ว่าแม้แต่แสงอาทิตย์ยังส่องลงมาไม่ถึง และเมื่อเศษเถ้าถ่านและหินลาวาเย็นขึ้นและเกิดการแข็งตัว ทำให้พวกมันพุ่งตกลงสู่พื้นดินด้วยความเร็วสูง ต่อมาไม่นานนัก ชาวปอมเปอีก็เริ่มหายใจไม่ออก เพราะก๊าซพิษที่ภูเขาไฟพ่นออกมาทำให้อากาศไม่สะอาด ผู้ที่พยายามจะหนีส่วนใหญ่ตาย สาเหตุการตายส่วนใหญ่เพราะหินพัมมิซขนาดใหญ่หล่นใส่หัว แล้วก็ล้มลงหมดสติ แล้วก็ขาดอากาศหายใจจนตายในที่สุด ตกเย็นวันเดียวกันนั้นเอง ชาวปอมเปอีที่หลบภัยในบ้านเริ่มตาย เพราะหินพัมมิซทับถมกันหนาจนบ้านถูกฝังและขาดอากาศหายใจจนตาย ต่อมาไม่นาน หลังคาบ้านก็เริ่มถล่ม เพราะรับน้ำหนักหินไม่ไหว ทำให้ผู้คนถูกฝัง เหตุการณ์ยังไม่หยุด ในวันถัดมา เมื่อภูเขาไฟวิสุเวียสยังคงระเบิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าชายฝั่ง และกวาดเอาความรุ่งเรืองของปอมเปอีไปจนหมด ในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ 79  ภูเขาไฟวิสุเวียสเริ่มสงบลง แต่เกิดฝนตกลงมาบริเวณลาดเขา ซึ่งเต็มไปด้วยเถ้าถ่านที่ร้อนจัด ทำให้ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ.79 น้ำฝนละลายผสมกับเถ้าถ่านกลายเป็นโคลนเดือดไหลทะลักลงมากลบเมืองเฮอร์คิวเลเนียม ชาวเมืองหลายร้อยคนเสียชีวิต แต่ก็ถือเป็นเพียงส่วนน้อย เพราะส่วนใหญ่ได้ล่องเรืออพยพออกไปแล้ว
ผลกระทบ
ทำให้เมืองปอมเปอี ถูกลบออกไปจากพื้นดินในเวลาเพียงแค่ 2 วัน หลังจากวิสุเวียสปะทุลาวาออกมา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1748 นครแห่งนี้ได้รับการค้นเจอ หลังจากที่มีการขุดเซาะไปเรื่อยๆ ก็พบเมืองทั้งเมืองในสภาพที่สมบูรณ์มากที่สุด พร้อมด้วยศิลปะวัฒนธรรม ที่เรียกได้ว่า เป็นศิลปะที่สวยงามหายาก แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมที่รุ่งเรืองในยุคนั้นว่ามีมากเพียงใด
อ้างอิง :
ปอมเปอี นครแห่งความตาย.  (2559, 14 มีนาคม).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://travel.trueid.net/detail/gBk5dMGARpY.  (วันที่ค้นข้อมูล : 27 กุมภาพันธ์ 2562).
ย้อนรอย! โศกนาฏกรรมภูเขาไฟระเบิดแห่ง ‘ปอมเปอี’.  (2560, 10 สิงหาคม).  [ออนไลน์].   เข้าถึงได้จาก : https://www.spokedark.tv/posts/pompeii-destroyed/.  (วันที่ค้นข้อมูล : 27 กุมภาพันธ์ 2562).
เปิดตำนานปอมเปอี เมืองแห่งภูเขาไฟมรณะ.  (2558, 14 มีนาคม).  [ออนไลน์].   เข้าถึงได้จาก : 
https://pantip.com/topic/33369684.  (วันที่ค้นข้อมูล : 27 กุมภาพันธ์ 2562).
ปอมเปอี เมืองมรณะ.  (2557, 26 กุมภาพันธ์).  [ออนไลน์].   เข้าถึงได้จาก : 
https://travel.mthai.com/world-travel/71880.html.  (วันที่ค้นข้อมูล : 27 กุมภาพันธ์ 2562).
ปอมเปอี ประวัติ โศกนาฏกรรมแห่งเมืองภูเขาไฟ.  (2557, 24 กุมภาพันธ์).  [ออนไลน์].   เข้าถึงได้จาก : 
https://hilight.kapook.com/view/98380.  (วันที่ค้นข้อมูล : 27 กุมภาพันธ์ 2562).
มหาวิบัติปอมเปอี.  (2557, 16 กุมภาพันธ์).  [ออนไลน์].   เข้าถึงได้จาก : 
https://www.thairath.co.th/content/403745.  (วันที่ค้นข้อมูล : 27 กุมภาพันธ์ 2562).

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวแผ่นดินไหว

ภูเขาไฟ (Volcano)

ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์