ภูเขาไฟ (Volcano)


ภูเขาไฟ (Volcano)


ภูเขาเกิดจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเปลือกโลก ซึ่งแผ่นธรณีทวีปดันกันทำให้ชั้นหินคดโค้ง (Fold) เป็นรูปประทุนคว่ำและประทุนหงายสลับกัน ภูเขาที่มียอดแบนราบอาจเกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกตามบริเวณรอยเลื่อน (Fault) แต่ภูเขาไฟ (Volcano) มีกำเนิดแตกต่างจากภูเขาทั่วไป ภูเขาไฟเกิดจากการยกตัวของแมกมาใต้เปลือกโลก


ประเภทของภูเขาไฟ

ภูเขาไฟมีรูปร่างสัณฐานต่างกัน เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาซึ่งมีแหล่งกำเนิดแตกต่างกัน และมีองค์ประกอบของแร่แตกต่างกัน เราจำแนกชนิดของภูเขาไฟตามลักษณะทางกายภาพได้ 3 ประเภทดังนี้
1.ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield volcano): เกิดขึ้นจากแมกมาบะซอลต์ที่มีความหนืดสูง ไหลออกมาฟอร์มตัวเป็นที่ราบสูงลาวาเช่น ภูเขาไฟมอนาคีบนเกาะฮาวาย ที่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก

2.กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder cone): เป็นภูเขาไฟขนาดเล็กมาก สูงประมาณ 100 - 400 เมตร ความลาดชันปานกลาง เกิดจากการสะสมตัวของแก๊สร้อนในแมกมาที่ยกตัวขึ้นมา เมื่อมีความดันสูงเพียงพอ จะระเบิดทำลายพื้นผิวโลกด้านบนเกิดเป็นปล่องภูเขาไฟเช่น กรวยภูเขาไฟในรัฐโอรีกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา

3.ภูเขาไฟกรวยสลับชั้น (Composite cone volcano ,Stratovolcano): เป็นภูเขาไฟขนาดปานกลาง ที่มีรูปทรงสวยงามเป็นรูปกรวยคว่ำ สูงประมาณ 100 เมตร ถึง 3,500 เมตร  เรียงตัวอยู่บริเวณเขตมุดตัว (Subduction Zone) เกิดขึ้นจากแผ่นธรณีมหาสมุทรที่หลอมละลายเป็นแมกมา แล้วยกตัวขึ้นดันเปลือกโลกขึ้นมาเป็นแนวภูเขาไฟรูปโค้ง (Volcanic arc)ตัวอย่างเช่น ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

4.ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone) เกิดจากลาวาที่มีความเป็นกรด หรือ Acid lava cone รูปกรวยคว่ำของภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ ลาวามีความเข้มข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรง

ปรากฏการณ์ภูเขาไฟภายนอก (Extrusive Activities)

เกิดจากหินหลอมละลายภายใต้ความกดดันมหาศาลแทรกตัวมาตามรอยร้าวของเปลือกโลกและหินหนืดเหล่านั้นมีก๊าซเข้าไปผสมมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรเจน เป็นส่วนมาก ทำให้เกิดแรงผลักดันมหาศาลเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง หรือผลักดันให้หินหนืดไหลออกมาตามรอยร้าวของเปลือกโลก ปรากฏการณ์การระเบิดของภูเขาไฟจึงเกี่ยวกับสภาวะของเปลือกโลกที่ยังไม่มั่นคง ปัจจุบันคาดกันว่าทั่วโลกยังคงมีภูเขาไฟคุกรุ่นมีพลังอยู่ประมาณ 850 ลูก แต่เป็นการยากที่จะแยกแยะระดับความรุนแรง ทั้งนี้เพราะอาจทวีความรุนแรงขึ้นอีกได้เหมือนกัน ภูเขาไฟที่เพิ่งเกิดเมื่อประมาณ 1-2 ล้านปีมาแล้ว มักเกิดโอกาสปะทุได้อีก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตามเราสามารถ

จำแนกประเภทของภูเขาไฟจากปรากฏการณ์ ได้เป็น 3 ประเภท คือ               
1.ภูเขาไฟมีพลัง (Active Volcanoes) หมายถึง ภูเขาไฟที่เคยมีประวัติถูก บันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น จัดว่าเป็นภูเขาไฟยังมีพลังอยู่ เช่น ภูเขาไฟเอตนา ในเกาะซิซิลี ของประเทศอิตาลี

2.เขาไฟที่สงบ (Dormant Volcanoes) หมายถึง ภูเขาไฟที่ไม่เคยถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น และไม่มีการผุพัง จัดว่าเป็นภูเขาไฟที่สงบมันอาจเกิดการระเบิดเมื่อใดก็ได้ เช่น ภูเขาไฟ วิสุเวียส ในประเทศอิตาลี

3.ภูเขาไฟที่ดับแล้ว (Extinct Volcanoes) หมายถึง ภูเขาไฟที่ไม่เคยถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น เช่น ไม่มีไอน้ำร้อนขึ้นมา หรือไม่มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ ภูเขาไฟประเภทนี้จัดเป็นประเภทภูเขาไฟที่ดับแล้ว เช่น ภูเขาไฟหลวง จังหวัดสุโขทัย
อ้างอิง : ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์.//(2560).//ภูเขาไฟ//สืบค้นเมื่อ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒./จาก/ http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/geological-phenomenon/earthquake

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวแผ่นดินไหว

ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์