แผ่นดินไหว (Earthquake)

แผ่นดินไหว (Earthquake)

แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ผลจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี ทำให้หินเปลี่ยนลักษณะ เลื่อนตัว แตกหัก ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ โดยสามารถอธิบายได้ว่า เปลือกโลกเกิดความเครียดมากจนกระทั้งรับความเครียดต่อไปไม่ไหวจึงทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) ซึ่งจะแผ่กระจายจากจุดกำเนิดไปทุกทิศทางโดยตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดการไหวสะเทือนเรียกว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (focus) ส่วนศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ใต้ผิวโลกที่ระดับความลึกต่างๆ ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยุ่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว เรียกว่า จุดเหนือศูนย์แผ่นดินไหว (epicenter)


       แผ่นดินไหวจะเกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ และอาจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟในขณะที่แมกมาใต้ผิวโ,กเคลื่อนตัวตามเส้นทางปล่องภูเขาไฟ ซึ่งสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวก่อนที่จะระเบิดออกมาเป็นลาวาได้ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาทิ การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน
อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรงศึกษาธิการ.//(2553).//หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ.//พิมพ์ครั้งที่ 3.//กรุงเทพมหานคร:/โรงพิมพ์ สกสต. ลาดพร้าว

ลักษณะของการเกิดแผ่นดินไหว


แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณี เนื่องจากเป็นบริเวณที่เกิดกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน 3 ลักษณะ

1.แผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน (Divergent boundaries) แมกมาจากชั้นฐานธรณีภาคดันให้แผ่นธรณีโก่งตัวอย่างช้าๆ จนแตกเป็นหุบเขาทรุด (Rift valley) หรือสันเขาใต้สมุทร (Oceanic Ridge) ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเบาที่ระดับตื้น (ลึกจากพื้นผิวน้อยกว่า 70 กิโลเมตร) เช่นบริเวณกลางมหาสมุทรแอตแลนติก

2.แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent boundaries) การชนกันของแผ่นธรณีสองแผ่นในแนวมุดตัว (Subduction zone)  ทำให้แผ่นที่มีความหนาแน่นมากกว่าจมตัวลงตัวสู่ชั้นฐานธรณีภาค การปะทะกันเช่นนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ระดับลึก (300 – 700 กิโลเมตร)  และหากเกิดขึ้นในมหาสมุทรก็จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิ เช่น สันเขาใต้สมุทรใกล้เกาะสุมาตรา  และ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น

3.แผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกัน (Transform fault) ทำให้เกิดแรงเสียดทานของหินเปลือกโลก แม้ว่าแผ่นธรณีจะเคลื่อนที่ผ่านกันด้วยความเร็วเพียงปีละประมาณ 3 - 6 เซนติเมตร แต่เมื่อเวลาผ่านไป 100 ปี ก็จะเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 3 - 6 เมตร ซึ่งถ้าหากหินคืนตัวก็จะสามารถปลดปล่อยพลังงานมหาศาลได้ ดังเช่น รอยเลื่อนซานแอนเดรียส์ก็เคยทำลายเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา จนประสบความเสียหายหนักเมื่อปี พ.ศ.2449
อ้างอิง : ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์.//(2560).//แผ่นดินไหว//สืบค้นเมื่อ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒./จาก/ http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/geological-phenomenon/earthquake

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวแผ่นดินไหว

ภูเขาไฟ (Volcano)

ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์