บทความ
กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2019
บทนำ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
บทนำ (Introduction) ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปคือ แผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิดซึ่งล้วนแต่ทำให้ผู้คนบาดเจ็บ เสียชีวิต และเกิดความเสียหายแก่มูลค่าทรัพย์สิน และ ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาครั้งใหญ่ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ เช่น การระเบิดของภูเขาไฟเวซูเวียส (Mount Vesuvuis) ในปี พ.ศ.622 ดังภาพ (ก) ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการทำลายอาณาจักรโรมันหลานชุมชน เช่น เมืองปอมเปอี (Pompeeli) เมืองเฮอร์คูลานุม (Herculaneum) และเมืองสตาเบีย (Stabiae) รูปภาพ (ก) เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้รู้จักเป็นครั้งแรกหรือครั้งสุดท้ายบนโลก และยังคงปรากฏเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาเหล่านี้อีกหลายครั้ง เช่น วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2544 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.4 ริกเตอร์ที่ประเทศเปรู , วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.1 ริกเตอร์ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียซึ่งก่อให้เกิดสึนามิสร้างความเสียหายหลายประเทศรอบชายฝั่งทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งประเทศไทย
แผ่นดินไหว (Earthquake)
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
แผ่นดินไหว (Earthquake) แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ผลจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี ทำให้หินเปลี่ยนลักษณะ เลื่อนตัว แตกหัก ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ โดยสามารถอธิบายได้ว่า เปลือกโลกเกิดความเครียดมากจนกระทั้งรับความเครียดต่อไปไม่ไหวจึงทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) ซึ่งจะแผ่กระจายจากจุดกำเนิดไปทุกทิศทางโดยตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดการไหวสะเทือนเรียกว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (focus) ส่วนศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ใต้ผิวโลกที่ระดับความลึกต่างๆ ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยุ่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว เรียกว่า จุดเหนือศูนย์แผ่นดินไหว (epicenter) แผ่นดินไหวจะเกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ และอาจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟในขณะที่แมกมาใต้ผิวโ,กเคลื่อนตัวตามเส้นทางปล่องภูเขาไฟ ซึ่งสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวก่อนที่จะระเบิดออกมาเป็นลาวาได้ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาทิ การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเท
แนวแผ่นดินไหว
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
แนวแผ่นดินไหว สามารถแบ่งศูนย์เกิดแผ่นดินไหวตามระดับความลึก ได้ 3 ระดับ ดังภาพ คือ 1.แผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดระดับตื้น จะเกิดที่ความลึกน้อยกว่า 70 กิโลเมตรจากผิวโลก 2.แผ่นดินไหวที่มี่ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับกลาง จะเกิดแผ่นดินไหวที่ความลึก 70 -300 กิโลเมตรจากผิวโลก 3.แผ่นดินไหวระดับลึก จะเกิดที่ความลึกมากกว่า 300 กิโลเมตรจากผิวโลก วงแหวนไฟ ( Ring of Fire) วงแหวนไฟ ( Ring of Fire) คือ บริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40 , 000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟคุกรุ่นทั้งโลก จากข้อมูลทางสถิติ นักธรณีวิทยาพบว่าตำแหน่งศูนย์กลางเกิดแผ่นดินไหวมีความสัมพันธ์กับแนวรอยต่อของแผ่นธรณี แนวรอยต่อที่สำคัญที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวมีอยู่ 3 แนว 1 . แนวรอบต่อที่เกิดล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก จัดเป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงและมากที่สุด
คลื่นแผ่นดินไหว
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
คลื่นไหวสะเทือน การเกิดแผ่นดินไหว พลังที่ถูกปลดปล่อยจะอยู่ในรูปของคลื่นไหวสะเทือนซึ่งจะมีด้วยกัน 2 ประเภท 1.คลื่นในตัวกลาง (Body wave) ซึ่งเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่แผ่กระจายทุกทิศทางจากศูนย์การเกิดแผ่นดินไหวและเดินทางอยู่ในตัวกลาง มี 2 ลักษณะคือ 1.1 คลื่นปฐมภูมิ (P wave) เป็นคลื่นตามยาวและสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊สโดยคลื่นปฐมภูมิจะมีความเร็วมากกว่าทุติยภูมิ โดยมีความเร็วเท่ากับ 6-7 กิโลเมตรต่อวินาที 1.2 คลื่นทุติยภูมิ (S wave) เป็นคลื่นตามขวางและไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางได้ที่เป็นของเหลว และแก๊สได้ โดยมีความเร็วเท่ากับ 3-4 กิโลเมตรต่อวินาที สาเหตุที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางของเหลว และแก๊สได้เนื่องจากเป็นคลื่นเฉือนที่ผ่านตัวกลางจะทำให้ตัวกลางเกิดความเค้นแบบเฉือน แต่ของเหลวและแก๊สไม่สามารถสะสมความเค้นแบบเฉือนได้ 2.คลื่นพื้นผิว (Surface wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่บนผิวโลกด้วยอัตราเร็วที่ช้ากว่าคลื่นตัวกลาง ซึ่งเป็นท
อันดับแผ่นดินไหว 1-5
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
อันดับความรุนแรงตามมาตราริกเตอร์ ลำดับที่ : 1 แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงทีสุดในโลก เมืองวาลดิเวีย( Valdivia) ประเทศชิลี วัน เวลา สถานที่ : 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 เมืองวาลดิเวีย( Valdivia) ทางตอนใต้ของประเทศชิลี ข้อมูลเบื้องต้น : จุดเหนือศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งนี้ ( epicenter) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ตรงรอยต่อของแผ่นสมุทรนาซก้า กับ แผ่นทวีปอเมริกาใต้ แผ่นนาซก้านั้นพยายามจะดันตัวเองไปทางตะวันออก เกิดแรงกดดันสะสมขึ้นตรงรอยต่อมากขึ้นเรื่อยๆ แผ่นดินไหวอยู่นานถึง 5 นาที คลื่นสึนามิสูงถึง 24 เมตร (ประมาณตึก 7 ชั้น) คลื่นนี้แผ่ออกไปถึงชายฝั่งอีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิคอย่างญี่ปุ่นหรือเกาะฮาวาย และเกิดการระเบิดของภูเขาไฟ Puyehue ในชิลีได้เกิดตามมาอีกหลังจากเกิดแผ่นดินไหวได้เพียง 2 วัน ความแรงตามมาตราริกเตอร์ : 9.5 ผลกระทบและความเสียหาย : รวมยอดผู้เสียชีวิตทั้งจากแรงแผ่นดินไหวไหว คลื่นยักษ์ หินร่วงและแผ่นดินถล่มได้กว่า 5,700 ราย ประเมินตามค่าเงินในปีที่เกิดเหตุ คือประมาณ 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แผ่นดินไหวดังกล่าวทำให้ภูเขาไฟปูเยเว่ซึ่งอยู่ใกล้
อันดับแผ่นดินไหว 6-10
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ลำดับที่ : 6 แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งชิลี ปี 2010 วัน เวลา สถานที่ : 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2010 เมื่อเวลา 03:34 ตามเวลาท้องถิ่น เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดนอกชายฝั่งแคว้นเมาเล ประเทศชิลี ข้อมูลเบื้องต้น : มีขนาด 8.8 ตามมาตราริกเตอร์ เป็นเวลานานราว 3 นาที ถือเป็นการแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงที่สุดหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวมีขนาด 9.5 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2503 ที่ วาลดีเวีย (ถือเป็นแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีบันทึก) และถือเป็นเหตุแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงที่สุดหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ความแรงตามมาตราริกเตอร์ : 8.8 ผลกระทบและความเสียหาย : เมืองที่ได้รับประสบความรุนแรงระดับ 4 (พื้นดินแยก) ตามมาตราเมร์กัลลี คือเมืองตัลกาอัวโน, อาเราโก, โลตา, ชิกัวยันเต, กาเนเต และซานอันโตนิโอ แผ่นดินไหวครั้งนี้ยังรู้สึกได้ถึงเมืองหลวง ซานเตียโก ที่ระดับ 8 (ผู้คนทั่วไปตกใจ) ตามมาตราเมร์กัลลี แรงสั่นไหวยังรู้สึกได้ในหลายเมืองของอาร์เจนตินา รวมถึงเมืองบัวโนสไอเรส, กอร์โดบา, เมนโดซา และลาริโอฆา แรงสั่นไหวยัง
ภูเขาไฟ (Volcano)
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ภูเขาไฟ (Volcano) ภูเขาเกิดจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเปลือกโลก ซึ่งแผ่นธรณีทวีปดันกันทำให้ชั้นหินคดโค้ง ( Fold) เป็นรูปประทุนคว่ำและประทุนหงายสลับกัน ภูเขาที่มียอดแบนราบอาจเกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกตามบริเวณรอยเลื่อน ( Fault) แต่ภูเขาไฟ ( Volcano) มีกำเนิดแตกต่างจากภูเขาทั่วไป ภูเขาไฟเกิดจากการยกตัวของแมกมาใต้เปลือกโลก ประเภทของภูเขาไฟ ภูเขาไฟมีรูปร่างสัณฐานต่างกัน เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาซึ่งมีแหล่งกำเนิดแตกต่างกัน และมีองค์ประกอบของแร่แตกต่างกัน เราจำแนกชนิดของภูเขาไฟตามลักษณะทางกายภาพได้ 3 ประเภทดังนี้ 1.ภูเขาไฟรูปโล่ ( Shield volcano): เกิดขึ้นจากแมกมาบะซอลต์ที่มีความหนืดสูง ไหลออกมาฟอร์มตัวเป็นที่ราบสูงลาวาเช่น ภูเขาไฟมอนาคีบนเกาะฮาวาย ที่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก 2. กรวยกรวดภูเขาไฟ ( Cinder cone): เป็นภูเขาไฟขนาดเล็กมาก สูงประมาณ 100 - 400 เมตร ความลาดชันปานกลาง เกิดจากการสะสมตัวของแก๊สร้อนในแมกมาที่ยกตัวขึ้นมา เมื่อมีความดันสูงเพียงพอ จะระเบิดทำลายพื้นผิวโลกด้านบนเกิดเป็นปล่องภูเขาไฟเช่น กรวยภูเขาไฟในรัฐโอรีกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา 3. ภูเขาไฟกรวยสลับชั้น ( Com